ภาพพิมพ์

               เทคนิคภาพพิมพ์สามารถทำได้หลายวิธี เช่น วิธีพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์จากธรรมชาติ พิมพ์จากแม่พิมพ์เศษวัสดุ พิมพ์จากแม่พิมพ์แกะสลัก เป็นต้น ภาพที่เกิดจากแม่พิมพ์นั้นสามารถแบ่งตามลักษณะของแม่พิมพ์ได้ 4 ประเภทคือ
               1.  ภาพพิมพ์ซึ่งเกิดจากส่วนสูงสุดของแม่พิมพ์ เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่สร้างแม่พิมพ์โดยการแกะให้เป็นร่องลึกเข้าไป และใช้ผิวบนของส่วนนูนเป็นที่สร้างให้เกิดรูป ในการพิมพ์ต้องใช้ลูกกลิ้ง ที่กลิ้งหมึกแล้วมากลิ้งผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์จากลูกกลิ้งจะติดเฉพาะผิวบนของส่วนนูนเท่านั้น ส่วนที่ลึกลงไปจะไม่ติดหมึก แล้วใช้กระดาษทาบปิดลงไปบนแม่พิมพ์ และกดอัดด้วยเครื่องมือ หรือแท่นพิมพ์ หมึกก็ติดกระดาษเกิดเป็นรูปขึ้นมา เทคนิคที่รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ ได้แก่ การแกะไม้หรือแกะยาง    
ภาพ  ภาพพิมพ์ซึ่งเกิดจากส่วนสูงสุดของแม่พิมพ์

                    เทคนิควิธีการพิมพ์แกะไม้ (Wood Block Printing)
                    การพิมพ์แกะไม้จะใช้ไม้ที่มีลายหรือไม่มีลายก็ได้ แผ่นไม้ด้านที่ใช้แกะจะต้องเรียบ เครื่องมือที่ใช้แกะคือ สิ่ว ซึ่งที่มีขนาดและลักษณะต่างกัน เช่น สิ่ว ซึ่งที่มีขนาดและลักษณะต่างกัน เช่น สิ่วรูปแหลม รูปเล็บมือ รูปเฉียง รูปตัด ก่อนแกะไม้จะต้องนึกอยู่เสมอว่าเมื่อแกะเป็นเส้นนั้นจะได้สีขาวซึ่งตรงข้ามกับการวาดเขียน หากแกะเลี้ยงเส้นสองครั้งจึงจะได้สีดำ ดังนั้นผู้ที่จะแกะไม้ควรร่างสีดำบนแผ่นไม้ที่จะแกะก่อน แล้วนำไปส่องกระจกเงาดูว่ามีความเหมาะสมกลมกลืนหรือไม่ เพราะภาพการออกแบบบนแผ่นไม้ที่ปรากฎบนกระจกเงาให้เห็นนั้นคือภาพสำเร็จเมื่อพิมพ์แล้ว
                   การแกะไม้หากต้องการพิมพ์หลายสีก็จะต้องแกะแม่พิมพ์ตามจำนวนสีที่ต้องการ เช่น ต้องการพิมพ์ 3 สี ก็ต้องทำแม่พิมพ์ 3 แผ่น วิธีการคือ แกะแม่พิมพ์สีเดียวก่อน เมื่อพิมพ์แล้วขณะที่สียังไม่แห้งบนกระดาษก็ให้นำกระดาษนั้นมาทับบนแผ่นไม้แม่พิมพ์อีกแผ่นหนึ่ง พยายามให้สีบนกระดาษติดบนแผ่นไม้ซึ่งเท่ากับเป็นการร่างไปในตัวแล้วจึงคิดสีต่อไป การะแกะไม้นั้นโดยทั่วไปผู้แกะมักจะไม่พิมพ์เป็นจำนวนมาก มักจะกำหนดจำนวนพิมพ์เอาไว้ เช่น อาจจะพิมพ์เพียง 12 แผ่นหรือ 24 แผ่น หากมากเกินไปความคมของแม่พิมพ์และคุณภาพของการพิมพ์จะด้อยลง

               2.  ภาพพิมพ์ซึ่งเกิดจากส่วนลึกของแม่พิมพ์ เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ใช้หลักการตรงกันข้ามกับ Relief Process คือแม่พิมพ์มี ความนูนและร่องลึกเช่นเดียวกัน แต่ส่วนที่สร้างให้เกิดเป็นรูป คือส่วนที่เป็นร่องลึกของแม่พิมพ์ ในการพิมพ์ต้องอุดหมึกลงไปในร่องลึก และเช็ดผิวบนให้สะอาด แล้วจึงเอากระดาษปิดทับบนแม่พิมพ์ การพิมพ์ต้องอาศัยแท่นพิมพ์ที่มีแรงกดสูงเพื่อเอากระดาษให้ไปดูดซับหมึกขึ้นมาได้ เทคนิคที่รวมกันอยู่ภายใต้กระบวนการนี้  ได้แก่ การพิมพ์โดยใช้กรดกัดแม่พิมพ์ให้ลึกลง อัดสีพิมพ์ลงในร่องนั้นแล้วใช้กระดาษชิ้นเข้าเครื่องพิมพ์ มีชื่อเรียกว่า อินแทกลิโอ   
      ภาพ  ภาพพิมพ์ซึ่งเกิดจากส่วนลึกของแม่พิมพ์

               3.  ภาพพิมพ์ซึ่งเกิดจากผิวหน้าของแม่พิมพ์ เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ตัวแม่พิมพ์มีผิวเรียบแบน แต่หลักของการพิมพ์อาศัยกฏเกณฑ์แห่ง ความไม่เข้ากันระหว่าง น้ำกับน้ำมัน แม่พิมพ์จะเป็นหินที่มีเนื้อละเอียดมาก และมีผิวแบนเรียบ รูปที่ต้อง การจะเกิดจากการขีด เขียนหรือวาดระบายด้วยไข ในการพิมพ์ก่อนที่จะกลิ้งหมึกพิมพ์จะต้องใช้น้ำหล่อ เลี้ยงผิวของแม่พิมพ์ให้ชุ่มชื้น เมื่อกลิ้งหมึกพิมพ์ซึ่งเป็นไขผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์ที่เป็นไขจะติด บนรูปที่วาดด้วยไขเท่านั้น  หมึกพิมพ์จะไม่ติดบนผิวหินส่วนที่มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่  แล้วจึงนำเอากระดาษ มาปิดทับบนแม่พิมพ์รีดกดให้หมึกติดกระดาษ เกิดเป็นรูปภาพที่ต้องการได้ เรียกว่า การพิมพ์หิน      
  ภาพ  ภาพพิมพ์ซึ่งเกิดจากผิวหน้าของแม่พิมพ์

                    เทคนิควิธีการพิมพ์หิน
                    เป็นเทคนิควิธีการพิมพ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีเป็นหลัก  โดยการเขียนภาพลงบนหินปูน (Lime Stone) หรือแผ่นอลูมินัมเพรท (Aluminum Plate) ด้วยวัสดุที่เป็นไข อาทิเช่นแท่งดินสอไข(Litho-Pencil),หมึกแท่งไข(Litho-Crayon),หมึกแท่งละลายน้ำ (Stick tusche) หรือวัสดุต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นไข (ไม่ทำละลายกับน้ำ) เป็นต้น
                    ก่อนที่ภาพที่เขียนด้วยวัสดุไข จะมีสภาพเป็นแม่พิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพได้เป็นจำนวนมาก  จะต้องผ่านขั้นตอนการสร้างภาพด้วยเคมีก่อน  โดยเรียกขั้นตอนนี้ว่า  การกัดกรด โดยใช้ส่วนผสมของกาวกระถินและกรด ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับเวลาในการกัดกรดเพื่อให้ได้แม่พิมพ์ไขที่มีน้ำหนักหรือรายละเอียดต่าง ๆ ตามต้องการ
                    ในระหว่างขั้นตอนการกัดกรดนี้ผิวหน้าของหิน  หรือแผ่นอะลูมินัมบริเวณที่ไม่ได้รับการเขียน หรือปกคลุมด้วยวัสดุที่เป็นไขจะถูกกาวกระถินและกรดที่ผสมอยู่ในกาวกัดให้รูพรุนที่ผิวหน้าของหินหรือเพลทมีลักษณะลึกมากขึ้น ผิวชั้นบนสุดบางส่วนที่จะถูกกัดหลุดออกไปด้วย (การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้อยู่ในระดับที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า)  ดังนี้เองผิวหน้าของหิน และแผ่นอลูมินัม  หลังจากผ่านการกัดกรดแล้วส่วนที่เป็นไขหรือภาพ จะมีสภาพที่จะรับกับไข (หมึกพิมพ์) ส่วนบริเวณที่ไม่ได้เขียนด้วยไขจะมีสภาพรับน้ำได้ดี
                    ในขั้นตอนการพิมพ   เมื่อลูบน้ำหมาด ๆ  บนแม่พิมพ์ด้วยฟองน้ำ รูพรุนเล็ก ๆ ที่อยู่บนผิวหน้า เพลทนี้จะอุ้มน้ำไว้ เมื่อกลิ้งลูกกลิ้งลงไปบนผิวหน้าเพลทที่เป็นแม่พิมพ์ หมึกจากลูกกลิ้งจะเกาะติดกับส่วนที่เป็นไขบริเวณภาพที่เขียนไว้   แต่จะไม่เกาะติดผิวหน้าหินส่วนที่อุ้มน้ำ  เพราะคุณสมบัติตามธรรมชาติของหมึกที่มีส่วนผสมของไขย่อมติดกับไข แต่ไขจะไม่ติดกับน้ำเมื่อวางแผ่น  กระดาษลงบนแม่พิมพ์   แล้วกดพิมพ์ด้วยระบบกดเคลื่อน   แรงกดจากด้านบนที่คงที่ในขณะที่แม่พิมพ์, กระดาษงาน, กระดาษรองพิมพ์ และแผ่นพลาสติกที่ประกบกันอยู่เคลื่อนที่ไปด้านหน้าจะทำให้หมึกบนแม่พิมพ์ผนึกติดกับกระดาษ ปรากฏเป็นภาพตามต้องการ
                    เนื่องจากวัสดุเฉพาะที่ใช้สร้างภาพในเทคนิคภาพพิมพ์หินในปัจจุบันเป็นวัสดุหายาก และมีราคาแพง  จึงมีการทดลองนำวัสดุต่าง ๆ  นอกเหนือจากที่ได้ยกตัวอย่างมา   ผลที่ได้อาจจะไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบหรือ ทดแทนที่วัสดุแบบดั้งเดิมได้  แต่วัสดุบางชนิดก็สามารถสร้าง  ลักษณะที่น่าสนใจใหม่ ๆ ขึ้นมาได้เช่นกัน  ไม่ว่าวัสดุที่ใช้ในการสร้างภาพบนแม่พิมพ์จะมีความ  หลากหลายเพียงใดก็ยังคงยึดอยู่บนพื้นฐานเทคนิควิธีการเดียวกัน ดังนั้นเราจึงสามารถทำการทดลองวัสดุใหม่  ๆ ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา
               4.  ภาพพิมพ์ซึ่งเกิดจากรอยปรุหรือส่วนทะลุของแม่พิมพ์ เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ ที่เป็นวิธีสร้างรูปซ้ำๆ เหมือนๆ กันได้หลายรูป โดยการเจาะกระดาษ หรือวัสดุอื่นให้เป็นรูปแล้วพ่น หรืออาบสีให้ผ่านช่องว่างลงไปติดเป็นรูปที่ต้องการ สำหรับ Silk-screenแม่พิมพ์จะเป็นตะแกรงที่ละเอียดมาก ตะแกรงนี้จะช่วยยึดทั้งส่วนที่เป็นช่องว่างและส่วนที่ทึบตันให้ติดเป็นแผ่นระนาบเดียวกัน วิธีการนี้ช่วยให้การสร้างแม่พิมพ์มีความละเอียด ประณีต และเมื่อพิมพ์ออกมารูปจะมีความคมชัดกว่า รวมทั้งพิมพ์ซ้ำๆได้ปริมาณมากกว่า ในการพิมพ์จะใช้ยางที่มีหน้าตัดเรียบคม ปาดหมึกผ่านช่องว่างให้ลงไปติดบนแผ่นกระดาษ  เกิดเป็นรูปที่ต้องการได้ ได้แก่ การพิมพ์สเต็นซิล การพิมพ์ซิลสกรีน (การพิมพ์ผ้าไหม) ภาพพิมพ์ที่เกิดจากรอยปรุนี้จะไม่มีลักษณะกลับซ้ายเป็นขวา
ภาพ  ภาพพิมพ์ซึ่งเกิดจากรอยปรุหรือส่วนทะลุของแม่พิมพ์

                    เทคนิควิธีการพิมพ์ซิลค์สกรีน
                    มีวิธีการพิมพ์ได้ทั้งแบบการพิมพ์ด้วยมือ และ การพิมพ์ด้วยเครื่อง โดยทั่วไปนิยมการพิมพ์ด้วยมือ สำหรับการพิมพ์ในปริมาณไม่มากนัก การพิมพ์ด้วยเครื่อง สามารถพิมพ์สอดสีได้ประณีต สวยงามยิ่ง เพราะน้ำหนักของการปาดหมึกพิมพ์ สามารถปรับตั้ง และควบคุมได้ตลอดการพิมพ์ ซึ่งการพิมพ์ด้วยมือทำ ได้ยาก เทคนิคของการพิมพ์ จะต้องอาศัยการฝึกทักษะปฏิบัติการพิมพ์จริงจึงจะสามารถพิมพ์ได้ดี
                    การพิมพ์โดยทั่วไป นิยมนำกรอบสกรีนที่ถ่ายแบบเสร็จแล้วไปติดกับโต๊ะพิมพ์ให้สามารถเปิดขึ้นลงได้ ทำฉากที่โต๊ะพิมพ์เพื่อใส่ชิ้นงานให้ได้ตรงตำแหน่งเดิมที่ต้องการ ฉีดสเปรย์กาวเหนียวที่โต๊ะพิมพ์ ใส่หมึกพิมพ์ใส่ชิ้นงาน แล้วเริ่มพิมพ์ เทคนิคใน การพิมพ์โดยละเอียด ต้องอาศัยการฝึกฝนจึงจะทำ ได้ดี อาจสอบถามจากผู้รู้ เพราะการพิมพ์ผ้า กระดาษ นามบัตรตัวนูน สติกเกอร์วงจรไฟฟ้า รูปลอก กำมะหยี่ ฯลฯ ซึ่งต่างก็มีเทคนิคที่แตกต่างกันไป